วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562





ระบำพรหมาสตร์






ชื่อระบำพรหมาสตร์
ประเภทการแสดงระบำ
ประวัติที่มาระบำพรหมาสตร์ เป็นระบำของเหล่าเทวดา 
นางฟ้าอีกชุดหนึ่งสำหรับแสดงประกอบการแสดงโขน
 เรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ 
เนื่อเรื่องกล่าวถึงอินทรชิตโอรสของทศกัณฐ์ 
กำลังทำสงครามติดพันอยู๋กับพระลักษมณ์ 
จึงใช้กลยุทธลวงพระลักษมณ์และกองทัพวานร 
โดยอินทรชิตได้แปลงกายเป็นพระอินทร์ 
เจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และให้การุณราชแปลงตัวเป็นช้างเอราวัณ 
ซึ่งเป็นพาหนะทรงของตน 
อีกทั้งให้บรรดาพลยักษ์นักรบในกองทัพแปลงกายเป็นเทพบุตร และนางฟ้า 
พากันเหาะฟ้อนรำ นำขบวนไปหน้าช้าง 
เพื่อลวงพระลักษมณ์ และกองทัพวานร
 ว่าขบวนเสด็จของพระอินทร์กำลังเสด็จผ่านมาในกลางอากาศ 
อินทรชิตหวังสบโอกาสเหมาะ 
จะลอบใช้สรพรหมาสตร์แผลงสังหารณ์พระลักษมณ์ และพลวานร 
ด้วยเหตุนี้ ระบำชุดนี้จึงเรียกในวงการ
นาฏศิลป์ไทยอีกชื่อหนึ่งว่า "ระบำหน้าช้าง"
 น่าจะเป็นเพราะเรียกตามลักษณะระบำ ที่รำอยู่หน้าช้าง
       เอราวัณของพระอินทร์แปลง กรมศิลปากรได้จัดโขนออกแสดงเป็นประจำทุกปี
 ซึ่งแต่ละชุดจะมีชั้นเชิงและลีลาลท่าทีของศิลปะที่แตกต่างกันไปตามเจตน์จำนงของการจัด โดยมุ่งหมายให้เป็นการฝึกศิลปิน 
และนักเรียนของกรมศิลปากร เกิดความรู้ความชำนาญในการแสดงแต่ละชุดแต่ละตอน
 ซึ่งบางชุดก็เป็นการแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ บางตอนก็สืบทอดกันมาโบราณ 
อีกทั้งยังต้องการเสนอให้ผู้ชมเห็นความหลากหลายของการแสดงโขนด้วย ในปี พ.ศ.๒๔๗๖
 กรมศิลปากรได้จัดการแสดงโขนชุดนี้ที่โรงโขนหลวง มิกสักวัน สนามเสือป่า ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๓ 
กรมศิลปากรจึงได้จัดการแสดงโขนชุดศึกพรหมาสตร์ขึ้นอีกวาระหนึ่ง แต่ก็ยังคงรักษารูปแบบการแสดงศิลปะของเดิมไว้ด้วย
 ดังเช่นในองค์ที่ ๔ ศรพรหมาสตร์ ปรับปรุงโดย นายประพันธ์
 สุคนธชาติท่านได้นำบทคอนเสิร์ตของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์มาใ้ช้ทั้งหมด 
โดยแต่งคำเจรจาแทรกในตอนท้ายของระบำพรหมาสตร์ 
        โขนชุดนี้ได้ปรับปรุงการแสดง พิมพ์บท และฝึกซ้อม พร้อมทั้งจัดฉาก 
แล้วเตรียมแสดงเป็นประจำ ณ 
โรงละคอนศิลปากร แต่ต้องระงับไปชั่วคราว ด้วยเกิดเหตุไฟไหม้โรงละคอนศิลปากรในวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๓
การแสดงโขนชุดนี้จึงต้องย้ายไปจัดแสดง ณ หอประชุมวัฒนธรรม สนามเสือป่า (ปัจจุบันคือ ตึกกองบัญชาการ กรป.กลาง)
 แล้วภายหลังต่อมาโขนชุดนี้ก็ได้นำมาจัดแสดง ณ โรงละครแห่งชาติ และที่อื่น ๆ อีกหลายครั้ง ท่ารำของระบำพรหมาสตร์ชุดนี้
ได้รับการถ่ายทอด แล้วสืบทอดมาโดยครูอาจารย์นวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร




รูปแบบ และลักษณะการแสดง
       ระบำพรหมาสตร์ เป็นการแสดงกลลวงของฝ่ายยักษ์ (อินทรชิต) ที่จะทำลายกองทัพฝ่ายมนุษย์ (พระลักษมณ์) ลักษณะของระบำ จึงเป็นการร่ายรำอย่างวิจิตร สวยงาม เพื่อให้พระลักษมณ์ และพลวานรเคลิบเคลิ้มหลงใหล จนลืมหลง ไม่ทันระวังตัว สามารถทำให้อินทรชิตแผลงศรไปสังหารพระลักษมณ์ และไพร่พลได้ ระบำชุดนี้เป็นระบำหมู่พระ - นาง เริ่มด้วยการรำนำในขบวนทัพ และรำตามเนื้อร้องในเพลงสร้อยสน ซึ่งเนื้อเพลงมี ๔ คำกลอน กล่าวถึงเหล่าเทวดา - นางฟ้า มาจับรำระบำบรรพ์ อย่างรื่นเริงบันเทิงใจ การแสดงระบำชุดนี้ใช้ประกอบการแสดงโขนโดยเฉพาะ แต่ด้วยความเป็นมาตรฐานในท่ารำ และเพลงร้องระบำพรหมาสตร์จึงได้เป็นท่ารำชุดหนึ่งในหลักสูตรการศึกษานาฏศิลป์ไทย
       สำหรับการแสดงระบำพรหมาสตร์จะปรากฏอยู๋ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรต์ตอนศึกพรหมาสตร์ ซึ่งเป็นการรำตามรูปขบวนเกียรติยศเครื่องสูง และมีการเรียงลำดับเพลงดนตรี เพลงร้อง และกระบวนท่ารำเป็นขั้นตอน

อ้างอิง

วัฒนธรรมภาคใต้

วัฒนธรรมของภาคใต้





มีผู้ให้ที่มาของดิเกฮูลูเอาไว้หลายสำนวน ในที่นี้จะขอหยิบยกออกมา 2 สำนวน กล่าวคือ หนึ่ง ตามสำนวนที่รับรู้กันโดยทั่วไป มีผู้รู้บางท่านได้ศึกษาไว้ว่าดิเก (Dikir) มีรากศัพท์มาจากคำว่าซี เกร์ ซึ่งเป็นภาษาอาหรับ หมายถึงการอ่านทำนองเสนาะ ส่วนคำว่าฮูลู แปลว่าใต้หรือทิศใต้ รวมความแล้วหมายถึงการขับบทกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทางใต้1 ท่านผู้รู้ยังได้กล่าวไว้อีกว่า ลิเกฮูลูน่าจะเกิดขึ้นเริ่มแรกที่อำเภอรามัน ซึ่งไม่ทราบแน่ว่าผู้ริเริ่มนี้คือใคร ข้อสนับสนุนก็คือชาวปัตตานีเรียกคนในอำเภอรามันว่าคนฮูลู ในขณะที่คนมาเลเซียเรียกศิลปะนี้ว่า "ลิเกปารัต" ซึ่งปารัต แปลว่าเหนือ จึงเป็นที่ยืนยันได้ว่า ดิเกฮูลู หรือดิเกปารัตนี้มาจากทางเหนือของมาเลเซียและทางใต้ของปัตตานี2 ซึ่งก็คือบริเวณอำเภอ

การแต่งกาย[แก้]

การแต่งกายของผู้เล่นดิเกฮูลู สมัยก่อนมักแต่งชุดอย่างชาวบ้านทั่วไปคือ โพกหัว สวมเสื้อคอกลม นุ่งโสร่ง บางครั้งเหน็บขวานไว้ข่มขวัญคู่ต่อสู้ ต่อมามีการแต่งกายแบบเล่นสิละ (ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวใต้) คือนอกจากจะนุ่งกางเกงขายาวธรรมดาเหมือนแต่เดิม ก็นุ่งผ้าโสร่งซอเกตลายสวยสดทับข้างนอกสั้นเหนือเข่าเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง พร้อมกับมีผ้าลือปักคาดสะเอว นอกนั้นก็สวมเสื้อคอกลมมีผ้าโพกศีรษะเหมือนเดิม ปัจจุบันนิยมแต่งกายแบบสมัยนิยม หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละคณะให้มีสีสันสดใสสะดุดตา

เวทีแสดง[แก้]

จะยกพื้นประมาณ 1 เมตร เปิดโล่งไม่มีม่าน ไม่มีฉาก ลูกคู่จะขึ้นไปนั่งล้อมวง ร้องรับและตบมือโยกตัวให้เข้ากับจังหวะดนตรี ส่วนผู้ร้องหรือผู้โต้กลอนจะลุกขึ้นยืนข้างๆ วงลูกคู่ ถ้ากรณีมีการประชันกัน แต่ละคณะจะขึ้นไปอยู่บนเวทีด้วยกัน แต่ล้อมวงแยกกันพอสมควร การแสดงก็ผลัดกันร้องทีละรอบทั้งรุกทั้งรับ เป็นที่ครึกครื้นแก่ผู้ชม
ดนตรีดิเกฮูลูประกอบด้วยรำมะนาอย่างน้อย 2 ใบ ใช้ตีดำเนินจังหวะในการแสดง ฆ้อง 1 วง เป็นเครื่องกำกับจังหวะ ตีสม่ำเสมอประกอบการแสดง นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบและเป็นที่นิยมกันว่ามีส่วนทำให้สนุกสนานกันมากยิ่งขึ้น เช่น ขลุ่ย ลูกแซก แต่จังหวะที่ใช้เป็นประเพณีในการเล่นคือ การตบมือ

การแสดง[แก้]

การแสดงจะเริ่มต้นการแสดงด้วยดนตรีโหมโรงเป็นการเรียกผู้ชมและเร้าอารมณ์คนดู สมัยก่อนมีการไหว้ครูในกรณีที่มีการประชันกันระหว่างหมู่บ้าน (หรืออาจมีหมอผีของแต่ละฝ่ายปัดรังควานไล่ผีคู่ต่อสู้ก็มี) ปัจจุบันสู้กันด้วยศิลปะหรือคารมอย่างเดียว เมื่อลูกคู่โหมโรงเสร็จ ต่อจากนั้นนักร้องต้นเสียงจะออกมาวาดลวดลายด้วยเพลงในจังหวะต่างๆ ทีละคน เริ่มต้นเนื้อร้องกล่าวถึงความประสงค์ในการเล่น แล้วจึงเข้าสู่เรื่องราวแสดง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวจากเหตุการณ์บ้านเมือง ปัญหาท้องถิ่น ความรักของหนุ่มสาว หรือเรื่องตลกโปกฮา
จากการสัมภาษณ์นายหะมะ แบลือแบ หรือแบมะ หัวหน้าคณะการแสดงดิเกฮูลู "มะ ยะหา" เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2547 ที่บ้านในอำเภอยะหา จังหวัดยะลา ผู้ซึ่งเป็นครูภูมิปัญญาไทย ด้านศิลปกรรม สาขาการแสดงลิเกฮูลู4 แบมะสันนิษฐานว่าดิเกฮูลูน่าจะมีส่วนเกี่ยวพันหรือถ่ายทอดซึ่งกันและกันกับการแสดงลำตัดในภาคกลาง เนื่องจากมีการประชันกันทั้งในด้านน้ำเสียงและไหวพริบในการโต้ตอบ
กรณีที่มีการประชัน หรือบางครั้งก็เป็นเรื่องราวกระทบกระแทกเสียดสีกัน หรือหยิบยกปัญหาต่างๆ มากล่าวเพื่อให้ผู้ชมชื่นชอบในการใช้คารมและปฏิภาณของผู้แสดง นับว่าเป็นการให้ความบันเทิง พร้อมทั้งให้ความรู้ สั่งสอนชาวบ้านผู้ชมไปในตัว
ประเพณีการแข่งขันจะมีการประชันระหว่างคณะต่างๆ เพื่อหาคณะที่ชนะเลิศในแต่ละปีที่มีกันมาตั้งแต่ในอดีต การตัดสินแตกต่างจากปัจจุบันเล็กน้อย คือในอดีตจะตัดสินผ่านพลังเสียง ไหวพริบในการโต้ตอบ ในการแสดงลูกคู่จึงนั่งล้อมกันเป็นวงกลม หัวหน้าวงจะอยู่ตรงกลาง การนั่งล้อมวงเพื่อให้เสียงรวมกันจุดเดียว ท่ารำประกอบการแสดงจะไม่หลากหลาย และเนื้อร้องเป็นภาษามลายู ปัจจุบันการแข่งขันจะตัดสินจากท่าทางของลูกคู่ด้วย ดังนั้นจึงต้องปรับรูปแบบในการนั่งเป็นนั่งเรียงหน้ากระดานเพื่อให้ผู้ชมได้เห็นท่ารำของลูกคู่อย่างชัดเจน ในส่วนของเนื้อร้องได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นภาษาไทยควบคู่ไปกับการร้องเป็นภาษามลายู
ลักษณะพิเศษของดิเกฮูลู คือหัวหน้าคณะหรือผู้ร้องนำสามารถเดินทางไปแสดงในที่ต่างๆ ในพื้นที่ที่มีคณะดิเกฮูลูได้โดยไม่ต้องมีลูกคู่ไปด้วย เพราะสามารถไปแสดงร่วมกับลูกคู่ของคณะอื่นๆ ได้
แบมะเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการเข้ามาแสดงดิเกฮูลูว่า เมื่อสมัยวัยรุ่นได้ไปดูดิเกฮูลูที่มาเล่นในอำเภอยะหา รู้สึกสนใจอยากที่จะเรียนรู้จึงไปขอเรียนจากคณะที่เข้ามาแสดงที่อำเภอ จนกระทั่งมีความรู้เพียงพอที่จะมาแสดงและตั้งวงเป็นของตัวเอง
แบมะได้ปรับรูปแบบการแสดงดิเกฮูลูของตนโดยการนำเพลงลูกทุ่งเข้ามาผสมผสานในการร้อง มิได้มีไว้เพื่อความบันเทิงเท่านั้น หากมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการรณรงค์ โดยเนื้อหาในเพลงจะเกี่ยวข้องกับศาสนา สถานการณ์ปัจจุบัน และสอดแทรกข่าวสารจากรัฐบาล เช่น เรื่องคุณธรรมจริยธรรม ความสะอาด โรคเอดส์ ความรักชาติ ความสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียง การเลือกตั้ง และภัยร้ายของยาเสพติด เข้าไปในเนื้อหาที่ใช้แสดง
พบว่าการแสดงดิเกฮูลูเป็นอีกสื่อหนึ่งที่สามารถเข้าถึงชาวบ้าน ทั้งยังเป็นตัวช่วยหนึ่งในการเผยแพร่รณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจถึงภัยร้ายต่างๆ และข้อปฏิบัติที่ถูกต้องดังที่กล่าวมาได้เป็นอย่างดี
การแสดงดิเกฮูลู แต่เดิมนิยมแสดงในงานพิธีต่างๆ เช่น มาแกปูโล๊ะ (งานแต่งงาน) พิธีเข้าสุหนัต งานเมาลิด งานฮารีรายอ งานบุญ และแสดงเพื่อแก้บน เป็นการขอพรจากพระอัลลอฮฺโดยผ่านการแสดงดิเก ปัจจุบันยังแสดงในงานเทศกาลต่างๆ ร่วมกับมหรสพอื่นๆ เช่น ในงานพิธีถวายพระพรวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น หรือเป็นการแสดงเพื่อมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังเช่นคณะดิเกฮูลูที่กล่าวถึงในงานโฆษณาชุดสำนึกรักบ้านเกิดข้างต้น หรือที่รู้จักกันในนามของดิเกฮูลูคณะแหลมทราย ของนายเจะปอ สะแม แห่งตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นคณะเครือข่ายเพื่อปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะบริเวณรอบอ่าวปัตตานี การแสดงจะมีเนื้อหากล่าวถึงวิถีชีวิตของชุมชนประมงชายฝั่ง เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การแก้ปัญหาต่างๆ ของประมงพื้นบ้าน และวิถีชีวิตแต่ละวัน
โดยการแสดงออกผ่านท่าทางประกอบและการตบมือ เช่น การใช้มือแสดงท่าทาง โดยการโบกมือกวักมือ หมายถึงเรียกให้กลับบ้านให้มาดูแลทะเลบ้านเรา ท่าทางการตบมือเหมือนปลา เหมือนกับการแสดงให้เห็นถึงการเอาตัวรอดของปลาให้หลุดพ้นจากการตามล่า ทำลายจากระเบิด อวนลาก อวนรุก และท่าทางการตบมือชักเชือก ที่แสดงถึงความร่วมมือ ความสามัคคี โดยใช้เชือก ซึ่งเป็นเครื่องมือจับปลาของชาวประมงพื้นบ้าน เป็นสื่อให้เกิดพลังชุมชน เป็นต้น
ปัจจุบันดิเกฮูลูแสดงกันทั่วไปในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา นราธิวาส สงขลา สตูล และปัตตานีรามัน จังหวัดยะลา
และสำนวนที่สอง จากการศึกษาของประพนธ์ เรืองณรงค์ ในหนังสือ "บุหงาปัตตานี คติชนไทยมุสลิมชายแดนภาคใต้"3 คำว่าลิเก หรือลิเก ในพจนานุกรม Kamus Dewan พิมพ์โดยสมาคมภาษาและหนังสือประเทศมาเลเซียเรียกลิเกเป็นดิเกร์เป็นศัพท์เปอร์เซีย มีสองความหมายคือ เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า ปกติเป็นการขับร้องเนื่องในเทศกาลวันกำเนิดพระนะบีมุฮัมมัด ชาวมุสลิมเรียกงานเมาลิด เรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า "ดิเกเมาลิด"
นอกจากนี้ดิเกยังหมายถึงกลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่ากันเป็นกลุ่มหรือเป็นคณะ โดยมีไม้ไผ่มาตัดท่อนสั้นแล้วหุ้มกาบไม้ข้างหนึ่งทำให้เกิดเสียงดัง แล้วร้องรำทำเพลงขับแก้กันตามประสาชาวป่า (ว่ากันว่าไม้ไผ่หุ้มกาบไม้นี้ได้กลายเป็นบานอ หรือรือปานา หรือรำมะนาที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้)
ประพนธ์ เรืองณรงค์ ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ดิเกน่าจะมาจากความหมายที่สอง คือกลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่นกันเป็นหมู่คณะ ซึ่งเป็นการร้องเพลงลำตัดภาษาอาหรับ ที่เรียกว่า "ซีเกร์มีรฮาแบ" การร้องเป็นภาษาอาหรับ ถึงแม้จะไพเราะแต่คนไม่เข้าใจ จึงนำเอาเนื้อเพลงภาษาพื้นเมือง ซึ่งก็คือภาษายาวีตีเข้ากับรำมะนา จึงกลายเป็นดิเกฮูลูมาตราบเท่าปัจจุบัน
และการแสดงประเภทนี้น่าจะมีขึ้นครั้งแรก ณ ท้องที่เหนือลำน้ำอันเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำปัตตานี ซึ่งชาวบ้านเรียกฮูลู หรือทิศฮูลู (ฝ่ายใต้ลำน้ำเรียกฮิเล) ตรงทิศฮูลูเป็นแหล่งกำเนิดฮูลูนั้น เข้าใจว่าคือท้องที่อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี และอำเภอบันนังสตา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ดิเกฮูลูคณะหนึ่งๆ จะมีสมาชิกประมาณ 10 กว่าคน เป็นชายล้วน เป็นผู้ขับร้องต้นเสียง 1-3 คน ที่เหลือจะเป็นลูกคู่ และอาจมีนักร้องภายนอกวงมาสมทบร่วมสนุกอีกก็ได้
บทกลอนที่ใช้ขับร้องนั้น เรียกเป็นภาษามลายูท้องถิ่นว่าปันตน หรือปาตง เวลาแสดงใช้ขับกลอนโต้ตอบ ไม่ได้แสดงเป็นเรื่องราวดังเช่นการละเล่นพื้นบ้านอย่างอื่น เช่น มะโย่ง หรือมโนห์รา

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ระบำดอกบัว


ระบำดอกบัว

ระบำดอกบัว เป็นการแสดงชุดหนึ่งจากละครเรื่อง “รถเสน” ตอนหมู่นางรำ แสดงถวายท้าววรถสิทธิ์ ซึ่งกรมศิลปากรได้ปรับปรุงขึ้น แสดงให้ประชาชนชมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ผู้ประพันธ์บทร้องคือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ใช้ทำนองเพลงสร้อยโอ้ลาวของเก่า เป็นการแสดงหมู่
การแต่งกาย
นุ่งจีบหน้านางห่มสไบเฉียง ใส่เครื่องประดับ หรือนุ่งจีบหน้านางห่มสไบเฉียงสองชาย ใส่เครื่องประดับ
อุปกรณ์
ดอกบัวประดิษฐ์



APPLE WATCH SERIES 4





ทั้งแอ็คทีฟ สุขภาพดี และต่อติดอยู่เสมอ

ตามดูแลสุขภาพของคุณ ติดตามการออกกำลังกาย พร้อมรับแรงกระตุ้นให้คุณ
พิชิตเป้าหมายด้านฟิตเนสได้จนสำเร็จ รวมทั้งอัพเดททุกเรื่องราวกับคนรอบตัว
และข้อมูลที่คุณใส่ใจ Apple Watch Series 3 ให้คุณทำทุกอย่าง
ที่ว่ามานี้ได้เลยจากข้อมือของคุณ










Apple Watch






Apple Watch Nike+

เชื่อมต่อถึงกันผ่านกีฬา